อำนาจหน้าที่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต ๓
การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๐ และ พ.ศ. ๒๕๖๑
การแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องการแบ่งส่วนราชการภายในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๐ และ พ.ศ. ๒๕๖๑ ดังต่อไปนี้
คณะกรรมการในการบริหารจัดการ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เกิดจากการที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕ และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้กำหนดว่า การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ยืดเขตพื้นที่การศึกษา โดยคำนึงถึงปริมาณสถานศึกษา จำนวนประชากร วัฒนธรรม และความเหมาะสมด้านอื่นด้วย เว้นแต่การจัดการศึกษาชั้น
พื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการอาชีวศึกษา ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของสภาการศึกษาแห่งชาติ มีอำนาจประกาศ ในราชกิจจานุเบกษากำหนดเขตพื้นที่การศึกษา
การบริหารจัดการ ให้มีผู้อำนวยการเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของสำนักงานให้เป็นไปตามนโยบาย แนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของกระทรวง ในกรณีที่มีกฎหมายอื่นกำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการไว้เป็นการเฉพาะ การใช้อำนาจและการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายดังกล่าวให้คำนึงถึงนโยบายที่คณะรัฐมนตรีกำหนดหรือนุมัติแนวทาง และแผนการปฏิบัติราชการของ
กระทรวงด้วย ในสำนักงานตามวรรคหนึ่งจะให้มีรองผู้อำนวยการเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการรองจากผู้อำนวยการเพื่อช่วยปฏิบัติราชการก็ได้ โดยรองผู้อำนวยการหรือผู้ดำร้งตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสำนักงาน มีอำนาจหน้าที่ตามที่ผู้อำนวยการกำหนดหรือมอบหมาย
คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผล และนิเทศการศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา
คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา (ก.ต.ป.น.) มีอำนาจหน้าที่ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการตรวจราชการ การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการจัดการศึกษา พ.ศ. ๒๕๖๐ ข้อ ๒๕ และข้อ ๒๖ ดังนี้
คณะกรรมการบริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต ๓
คณะกรรมการบริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต ๓ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
คณะกรรมการบริหารกลุ่มโรงเรียน
คณะกรรมการบริหารกลุ่มโรงเรียน มีอำนาจหน้าที่ตามระเบียบสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต ๓ ว่าด้วยกลุ่มโรงเรียน พ.ศ. ๒๕๖๐ ดังนี้
อำนาจหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา (มาตรา 23 )ให้อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามีอำนาจ ดังนี้
๑. พิจารณากำหนดนโยบายการบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษารวมทั้งการกำหนด
จำนวนและอัตราตำแหน่ง การเกลี่ยอัตรกำลังให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารงานบุคคล ระเบียบ หลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ.กำหนด
๒. พิจารณาให้ความเห็นชอบการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่ฯ เริ่มตั้งแต่ดำเนินการสอบแข่งขันข้าราชการครู
การบรรจุ แต่งตั้ง การย้าย การโอน
๓. ให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับการพิจารณาความดีความชอบของผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษา
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
๔. พิจารณาเกี่ยวกับเรื่องการดำเนินการทางวินัย การออกจากราชการการอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ ตามที่กำหนดไว้ใน
พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547
๕. ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนา การเสริมสร้างขวัญกำลัง การปกป้องคุ้มครองระบบคุณธรรม การจัดสวัสดิการ
และการยกย่องเชิดชูเกียรติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในหน่วยงานการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
๖. กำกับ ดูแล ติดตามและประเมินผลการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาในเขตพื้นที่ฯ
๗. จัดทำและพัฒนาฐานข้อมูลข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
๘. จัดทำรายงานประจำปีที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาเพื่อเสนอก.ค.ศ.
๙. พิจารณาให้ความเห็นชอบเรื่องการบริหารงานบุคคลในเขตพื้นที่ฯ ที่ไม่อยู่ในอำนาจ และหน้าที่ของผู้บริหารของหน่วยงานการศึกษา
๑๐. ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.นี้ กฎหมายอื่น หรือตามที่ ก.ค.ศ.มอบหมาย